ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ นางสาว กนกรัตน์ เสมทับ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

  1.  เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือทำงาน
  3. เพื่อสร้าการเรยีนรู้ให้กับตนเอง
  4. เพื่อตรวจสอบข้อมูล
  5. เพื่อการนำเข้าข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

Search Engine  

  • หมายถึง เตรื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้
เทคนิคการสืบค้นข้อมูล

  1. บีบประเด็นให้แคบลง
  2. การใช้คำใกล้เคียงกัน
  3. การใช้คำหลัก  (Keyword)
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
  5. ใช้เครื่องบวกลบช่วย
  6. หลีกเลี่ยงภาษาพูด

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Assignment 2


Search Engine (เซิร์ต เอ็นจิ้น) คือ
              เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองโดยอัตโนมัติซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index)  ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database ) ของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการกับSearch Engine
ตัวอย่าง Search Engine เช่น
http://www.google.com
http://www.yahoo.com
http://www.live.com
http://www.bing.com
http://www.ask.com
การเรียงลำดับผลลัพธ์จากการค้นหานั้น Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น
Search Engine มีอะไรบ้าง
เทคนิคการค้นหาข้อมูลบน Internet
          ทุกท่านคงได้ทราบมาแล้วว่า Internet มีข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล แต่บ่อยครั้งที่เราต้องการข้อมูลบางอย่างที่แน่ใจว่ามี หรือน่าจะมีใน Internet แต่กลับหาไม่พบ
          ปกติแล้วการเข้า Website เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการในทันทีทันใดนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือ เราทราบ URL ของ Web Page นั้น ๆ แล้วป้อนเข้าไปในช่อง Address ของ Web Browserเช่น
          ซึ่งเป็น URL ของ Website ที่แสดงรายงานผู้ป่วยโรค SARS ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่สนใจกันมากในขณะนี้ กรณีนี้เราได้ทราบ URL มา จึงได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว แต่มีบ่อยครั้งที่เราไม่ทราบ URL พวกนี้ แต่ต้องการหาข้อมูลที่ต้องการให้ได้อย่างรวดเร็ว ฉบับนี้จะแนะนำเทคนิคการค้นหาข้อมูลในInternet โดยใช้ Search Engine จาก Web site ที่เปิดให้บริการ
ค้นหาข้อมูลบน Intenet 
Search Engine ที่นิยมใช้
          Search Engine ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก ได้แก่
- http://www.google.com
- http://www.altavista.com
- http://www.yahoo.com
- http://www.infoseek.com
- http://www.lycos.com
- http://www.webcrawler.com
          สำหรับ Search Engine ที่สามารถค้นหาคำภาษาไทย และค้นหา Web Site ของไทย ได้แก่
- http://www.google.com
- http://search.sanook.com
- http://www.siamguru.com
- http://www.thaiseek.com
- http://search.cscoms.com/
การใช้ Search Engine หาข้อมูลที่ต้องการ
          อันดับแรกต้องเข้าใจว่า Search Engine แต่ละแห่งนั้น แม้จะใช้ค้นหาข้อมูลบน Webเหมือนกัน แต่อาจจะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ถ้าจะใช้ค้นหาให้ได้ประสิทธิภาพจริง ๆ ควรอ่านวิธีการใช้งานของ Search Engine นั้น ๆ ด้วย สำหรับหลักการใช้ Search Engineโดยทั่วไป เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ มีดังนี้
1. ค้นหาจาก Directory หรือ Category  - Web Site ที่ใช้ค้นหาส่วนใหญ่มักมีการจัดทำหมวดหมู่ (Category หรือ Directory) ของข้อมูลต่าง ๆ ไว้แล้ว ถ้าเราทราบว่าสิ่งที่เราต้องการค้นหา ควรจะอยู่ในหมวดหมู่หรือหัวข้อใด ก็ควรเข้าไปดูและตรวจสอบในหมวดหมู่ดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากขึ้นและยังมีโอกาสเลือกสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย
2. ค้นหาจาก Search Engine หลาย ๆ แห่ง  - เนื่องจากข้อมูลใน Internet มีมากมายมหาศาล ไม่มี Search Engine ใดที่จะค้นหาข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งหมดได้ ดังนั้นเมื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบใน Search Engine ตัวหนึ่ง ควรลองใช้ Search Engine อื่น ๆ อีก เพราะนอกจากจะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว อาจทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้น
3. การค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (Keyword)  - คำที่ใช้เป็นหลักในการค้นหา จำเป็นต้องมีความเฉพาะเจาะจง หรือเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ Search Engine ทำการค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามความต้องการ และมีผลลัพธ์ไม่มากเกินไป ทำให้ไม่เสียเวลาอ่านผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง ได้แก่ ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงงานพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ และเคยได้ยินชื่อโครงงานว่าชื่อ BUDSIR เราจึงใช้คำว่า “BUDSIR” เป็นKeyword ในการค้นหา
ต้องการตรวจสอบผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2546 สามารถระบุคำว่า “ผลentrance ปี 46” เป็น Keyword สำหรับ Search Engine ที่รองรับการสืบค้นภาษาไทย 
4. ใช้ Advanced Search  - ในหลายกรณีที่ไม่อาจหาคำที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาได้ จึงจำเป็นต้องใช้หลาย ๆ คำประกอบกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการ Search Engine ส่วนมากจะรองรับการค้นหา โดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า Boolean Operator ต่อไปนี้ 
          AND เป็นการบังคับการค้นหา โดยให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีคำทั้งหมดที่เราใส่ไว้ เช่น เมื่อทำการค้นหาคำว่า cloning AND dolly ผลลัพธ์ที่ออกมาต้องมีทั้งคำว่า cloning และ dollyด้วย โดยปกติแล้ว Search Engine ทั่วไปมักใช้ AND เป็นกฎเกณฑ์ในการค้นหาอยู่แล้วเมื่อใส่คำมากกว่า 1 คำในการค้นหา ดังนั้นเมื่อค้นหาคำว่า cloning dolly จะให้ผลเหมือนกับcloning AND dolly
          OR เป็นการบังคับการค้นหาให้ผลลัพธ์มีทั้งคำที่ 1 หรือ คำที่ 2 (หรือทั้ง 2 คำ) กรณีนี้ มีการใช้ไม่มากนัก
เนื่องจากจะได้ผลลัพธ์มากกว่าการใช้ AND แต่หลาย Search Engine ก็รองรับคำสั่งนี้
          NOT เป็นการระบุให้ Search Engine ค้นหาคำโดยตัดคำที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น กรณีที่ค้นหาคำว่า cloning NOT dolly ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า cloning แต่ไม่มีคำว่า dolly
          * ใช้ในการหาเฉพาะส่วนของคำ ซึ่งทำได้เฉพาะในบาง Search Engine เท่านั้น
          Phrase เป็นการค้นหาโดยใช้วลี เช่น “genetic engineering” ผลลัพธ์ที่ได้ ต้องมีคำที่ 1ตามด้วยคำที่ 2 เท่านั้น
          วิธีการใช้คำสั่ง Boolean Operator เหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละ Search Engine ผู้ใช้บริการควรอ่านวิธีการค้นหาของ Search Engine แต่ละแห่งก่อนใช้งาน ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในลักษณะ Advanced Search นี้มักเป็นลักษณะให้เลือกเติมคำเฉพาะเองด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ 
ที่มา www.cc.mahidol.ac.th